ชื่อวิทยาศาสตร์ | Crinum thaianum |
ชื่อสามัญ | Thai Onion Plan |
ชื่อไทย | พลับพลึงธาร, หอมน้ำ |
วงศ์ | Amaryllidaceae |
ตำแหน่งในการลงปลูก | กลางตู้, หลังตู้ |
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม | แสงไฟความสว่างปานกลาง, ช่วงอุณหภูมิ 26-30 °C |
อัตราการเจริญเติบโต | ปานกลาง |
รายละเอียด | พลับพลึงธาร Crinum thaianum Schulze เป็นพืชนํ้าที่จัดอยู่ในอันดับ Asparagales
วงศ์ Amaryllidaceae สกุล Crinum จัดเป็นพืชเฉพาะถิ่น หรือพืชถิ่นเดียว (endemic plant) โดย
พบเฉพาะในประเทศไทย มีการแพร่กระจายตามธรรมชาติเฉพาะในพื้นที่จังหวัดระนองตอนล่าง และพังงา
ตอนบน จัดเป็นพรรณไม้นํ้าประเภทชายนํ้า เจริญเติบโตบริเวณแหล่งนํ้าไหลที่ใสสะอาด ลักษณะเด่นของ
พลับพลึงธารคือมีลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินใต้นํ้า ลักษณะของหัวคล้ายหัวหอมจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่าหอมนํ้า
หัวซึ่งเป็นลำต้นใต้ดินที่มีจุดกำเนิดของใบเกล็ด ซ้อนกันหลายชั้นจนมีลักษณะเป็นหัว มีใบเป็นใบเดี่ยว
แตกออกจากลำต้นเป็นกอ แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนลักษณะเป็นรูปแถบยาวคล้ายริบบิ้นพริ้วไปตามกระแสนํ้า
ขนาดใบกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 40-100 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่ม
ช่อละ 6-13 ดอกย่อย มีก้านดอกย่อยยาวเท่ากันและออกจากจุดเดียวกัน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสร
ตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน มีก้านช่อ ดอกอวบอ้วนสีแดงอมเขียวยาวประมาณ 40-130 เซนติเมตร
ส่งดอกชูขึ้นมาเหนือนํ้า โคนก้านช่อดอกมีกาบใบสีแดงหุ้มช่อดอกอ่อน ส่วนของดอกประกอบด้วย
กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ มีสีขาว เป็นกลีบรวมและมีโคนกลีบติดกันเป็นหลอดเรียวยาวสีม่วง เรื่อๆ ปลายกลีบแยกเป็นกลีบยาว 6 แฉก เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดอยู่ที่โคนกลีบรวม ออกดอกมากในช่วง
เดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม มีผลเป็นชนิดผลสดที่มีเปลือกอ่อนนุ่ม สีแดงอมเขียว ภายในมีเนื้อและ
มีเมล็ดจำนวน 1-12 เมล็ด เมล็ดมีสีเขียวผิวไม่เรียบ ลักษณะบิดเบี้ยวและเป็นเหลี่ยม |
การขยายพันธุ์ | การขยายพันธุ์พลับพลึงธารสามารถทำได้ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ ได้แก่
การใช้เมล็ด การแยกหัวย่อยขนาดเล็ก การผ่าแบ่งหัว และการคว้านหัว นำไปเพาะชำ
ในกรวดแม่น้ำขนาดเล็กที่ชื้นแฉะ หรือขยายพันธุโ์ ดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากชิ้นสว่ น
กลีบหัว หรือเมล็ด |
เครดิต | ภาพและข้อมูล: ดร. กาญจนรี พงษ์ฉวี และคณะ |