ชื่อวิทยาศาสตร์ | Scleropages formosus |
ชื่อสามัญ | Asian bonytongue fish, Green Arowana |
ชื่อไทย | ปลามังกร ตะพัด ตะพัดเขียว |
วงศ์ | Osteoglossidae |
ถิ่นที่อยู่อาศัย | เคยพบในภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันยังมีอยู่ในประเทศกัมพูชา |
รายละเอียด | เป็นปลาน้ำจืดโบราณชนิดหนึ่ง เคยพบทางภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด และภาคใต้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี สตูล ตามลำธารหรือลำคลองที่น้ำไหลเอื่อย ๆ ปัจจุบันปลาตะพัดได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว ซึ่งปัจจุบันนำเข้าจากประเทศกัมพูชา เป็นปลาที่ต้องเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่ กินกบ เขียด สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก และแมลงขนาดใหญ่ เช่น แมลงสาบ จิ้งหรีด จิ้งจก หรือ เป็นอาหาร มีลักษณะคือลำตัวแบนด้านข้าง ส่วนท้องแบนเป็นสันคม เกล็ดมีขนาดใหญ่และหนา เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 21-24 เกล็ด ครีบหลังและครีบก้นตั้งอยู่ค่อนไปทางปลายหาง ส่วนครีบอกยาวประมาณหนึ่งในสามของความยาวลำตัว ครีบหางกลม ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ที่ปลายขากรรไกรล่างมีหนวดขนาดใหญ่แต่สั้นจำนวน 1 คู่ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 1 เมตร ****ความเชื่อสายมูเตลู: "ราชาแห่งปลาสวยงาม"เชื่อกันว่าปลาชนิดนี้จะ
ช่วยเรียกโชคลาภและเงินทอง เสริมสร้างบารมีและความน่าเกรงขาม สง่างาม
นำธุรกิจการค้ารุ่งเรือง สร้างความก้าวหน้าให้กับหน้าที่การงานได้อีกด้วย สุขภาพแข็งแรง สิ่งชั่วร้ายไม่กล้ำกลาย ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข เสริมดวงเสริมบารมี
สู่ผู้เลี้ยง
|
เครดิต | ภาพ: ชาลทอง ภู่นิยม ข้อมูล:สุจินต์ หนูขวัญ อรุณี รอดรอย และนภัทร์ โสภณ |