ชื่อวิทยาศาสตร์ | Maylandia callainos |
ชื่อสามัญ | Cobalt Blue Zebra, Cobalt Zebra, Pearl Zebra Former, Zebra Malawi |
ชื่อไทย | ซีบราบลู, มาลาวีฟ้า (สีฟ้า) |
วงศ์ | Cichlidae |
ถิ่นที่อยู่อาศัย | ทะเลสาบมาลาวี |
รายละเอียด | เป็นปลาหมอสีที่มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบมาลาวี เฉพาะถิ่นในอ่าว Nkhata เท่านั้น ปลาชนิดนี้มีลำตัวยาวแบนข้าง หัวโต ปากแหลมและเฉียงขึ้นเล็กน้อย สันของส่วนหัวเป็นแนวโค้งขึ้นไปจรดหน้าครีบกระโดง ช่วงไหล่กว้าง หางคอดสั้น ครีบกระโดงมีส่วนที่ยกสูงขึ้นคือส่วนที่เป็นก้านอ่อน ส่วนปลายสุดของกระโดงงอลงหาครับหาง ครีบก้นมีปลายครีบยาวเรียว โดยปลาชนิดนี้มีความยาวได้ถึง 8 เซนติเมตร ปลาหมอสีเป็นปลาอมไข่ ที่มีการฟักไข่ และออกลูกจากปลาตัวเมีย โดยปลาตัวเมียจะอมไข่ไว้ในปลา และปลาตัวผู้จะมีจุดไข่ (Egg spots) อยู่บริเวณครีบก้นโดยจุดไข่จะมีลักษณะและขนาดเหมือนไข่จริง โดนปลาตัวเมียจะไปงับบริเวณจุดไข่ของปลาตัวผู้ แล้วปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่ที่อยู่ในปากตัวเมีย ซึ่งตัวเมียแต่ละตัวจะอมไข่ไว้ได้ประมาณ 10 – 50 ฟอง เมื่อไข่และน้ำเชื้อผสมกันแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์จนกว่าลูกปลาจะฟักออกเป็นตัว โดยระหว่างนั้นแม่ปลาจะไม่มีการกินอาหาร ซึ่งลูกปลาจะอาศัยในปากแม่ปลาเป็นเวลา 1 เดือน จนกว่าลูกปลาจะแข็งแรง และสามารถหาอาหารกินเองได้ แม่ปลาจึงปล่อยลูกปลาออกจากปากทั้งหมด มีลักษณะการกินอาหาร เป็นปลากินพืชน้ำขนาดเล็ก โดยในปัจจุบันมีการให้เป็นอาหารเม็ดขนาดเล็กเพื่อให้สะดวกต่อผู้เลี้ยง หรืออาจจะให้อาหารมีชีวิต เช่นอาร์ทีเมียร์ ลูกน้ำ ไรแดง หนอนแดง เป็นต้น |
เครดิต | ภาพและข้อมูล: กรมประมง |