ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cryptocoryne nurii |
ชื่อสามัญ | Water Trumpet |
ชื่อไทย | ใบพายนูริอิ |
วงศ์ | Araceae |
ตำแหน่งในการลงปลูก | กลางตู้ |
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม | แสงไฟความสว่างปานกลาง, Co2, ช่วงอุณหภูมิ 26-29 °C |
อัตราการเจริญเติบโต | ช้า |
รายละเอียด | ใบพายนูริอิ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยไปจนถึงแหลมมลายูบริเวณ
ฝงั่ ตะวันตกของประเทศมาเลเซีย พบแพรก่ ระจายตามลำธารขึ้นบริเวณแม่น้ำลำธารที่มีน้ำไหล ในป่า ดิบชื้น
สภาพนํ้าค่อนข้างเป็นกรด มีพื้นเป็นดินโคลนและทราย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกแบบกุหลาบซ้อน
แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปไข่จนถึงรูปรี ยาว 5-15 เซนติเมตร กว้าง 1-3.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม
โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักมนถี่ แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวมะกอก หรือนํ้าตาลแดง มีลายเด่นชัด
สีเขียวเข้ม แผ่นใบด้านล่างมีสีเขียวจางจนถึงแดงเรื่อ ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย มีเส้นใบขนานแบบขนนก
แยกออกจากเส้นกลางใบมายังขอบใบ ต้นที่เจริญเติบโตใต้นํ้ามักมีเส้นใบสีจางๆ ดอกออกเป็นช่อแบบ
ช่อเชิงลดมีใบประดับ ชูขึ้นมาเหนือนํ้า ใบประดับมีลักษณะเป็นหลอดหุ้มช่อดอกไว้ ส่วนที่เป็นหลอด
มีขนาดยาว 2-15 เซนติเมตร มีสีค่อนข้างขาว ส่วนบนด้านนอกมีสีเจือนํ้าตาล ปากแตรดอกมีลักษณะเป็น
รูปหัวใจสีแดงเข้มจนถึงม่วงเข้ม ผิวขรุขระ ส่วนโคนหลอดโป่งพองมีขนาดยาว 1-3 เซนติเมตร มีดอกย่อย
อยู่ด้านใน ดอกย่อยเพศเมียอยู่ด้านล่างเรียงติดกันเป็นวง มีจำนวน 5-7 ดอก ยอดเกสรเพศเมียเป็นรูปไข่
จนถึงรูปไข่แคบ ดอกย่อยเพศผู้อยู่ด้านบนรวมกันเป็นกลุ่ม มีจำนวน 30-50 ดอก ผลเป็นรูปไข่ |
การขยายพันธุ์ | ขยายพันธุ์โดยการเกิดไหลแตกหน่อ แล้วแยกมาลงปลูกใหม่ หรือใช้เมล็ด |
เครดิต | ภาพและข้อมูล: ดร. กาญจนรี พงษ์ฉวี และคณะ |